กรรโชกทรัพย์

                จากที่ทางบริษัท เอสแอลเอส2517 จำกัด  ได้นำเสนอความรู้ทางกฎหมายอาญาที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับทรัพย์วันนี้ทางบริษัท เอสแอลเอส2517 จำกัด  ก็จะขอนำเสนอความผิดที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์เช่นเดิมเพียงแต่ในคราวนี้นั้นจะมีดีกรีความเข้มข้นของเรื่องที่เพิ่มมากขึ้นและใกล้ตัวของท่านมากขึ้นขอให้ท่านโปรดติดตาม

                หลายท่านคงเคยชมภาพยนตร์ที่มีเจ้าพ่อเรียกเก็บค่าคุ้มครองจากชาวบ้านดั่งเช่นในเรื่อง God father  ที่มีเจ้าพ่อชาวอิตาเลี่ยนเก็บค่าคุ้มครองจากชาวบ้านแลกกับการคุ้มครองจากเจ้าพ่อโดยในหนังเราอาจจะเห็นเจ้าพ่อเป็นคนดีที่มีสัจจะช่วยปกป้องชาวบ้าน แต่ในความเป็นจริงใช่ว่าเจ้าพ่อที่เรียกเก็บค่าคุ้มครองจะเป็นคนดีทุกคนเสียเมื่อไหร่

ในวันนี้บริษัท เอสแอลเอส2517 จำกัด จะขอนำกฎหมายที่จะช่วยคุ้มครองตัวท่านหรือลงโทษคนที่ทำการเรียกเก็บค่าคุ้มครองจากท่าน โดยการเรียกเก็บค่าคุ้มครองที่ในบทความนี้จะกล่าวถึงหมายถึงการข่มขู่ว่าจะทำให้เสียหายหากไม่ยอมให้หรือจะให้ประโยชน์ในทางทรัพย์สินแก่ตัวผู้ข่มขู่หรือผู้อื่นโดยความผิดดั่งกล่าวถือเป็นความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ซึ่งได้มีการบัญญัติอยู่ในมาตรา 337 แห่งประมวลกฎหมายอาญาโดยบัญญัติเอาไว้ดั่งนี้ ผู้ใดข่มขืนใจผู้อื่นให้ยอมให้หรือยอมจะให้ตนหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือโดยขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียงหรือทรัพย์สินของผู้ถูกขู่เข็ญหรือของบุคคลที่สาม จนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่านั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานกรรโชก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทถ้าความผิดฐานกรรโชกได้กระทำโดย (1) ขู่ว่าจะฆ่า ขู่ว่าจะทำร้ายร่างกายให้ผู้ถูกข่มขืนใจ หรือผู้อื่นให้ได้รับอันตรายสาหัส หรือขู่ว่าจะทำให้เกิดเพลิงไหม้แก่ทรัพย์ของผู้ถูกข่มขืนใจหรือผู้อื่น หรือ (2) มีอาวุธติดตัวมาขู่เข็ญผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท

โดยการที่ท่านจะวินิจฉัยได้ว่าใครกระทำความผิดตามมาตรา 337 นั้นท่านต้องเข้าใจถึงองค์ประกอบของมาตรา 337 เสียก่อนโดยมาตรา 337 นั้นสามารถแยกออกมาได้ดั่งนี้

                1) ต้องมีการข่มขืนใจ คือเป็นการบังคับฝืนใจ

                2)ต้องเป็นการบังคับ ให้ยอม หรือ ยอมจะให้ ซึ่งประโยชน์ในทางทรัพย์สินแก่ตัวผู้กระทำความผิดหากเป็นประโยชน์แต่มิใช่ประโยชน์ในทางทรัพย์สินคือประเมินราคามิได้ผู้กระทำไม่มีความผิดตามมาตรานี้ (ฎีกา478/2559 )

3)โดนการข่มขู่นั้นต้องเป็นการข่มขู่ว่าจะ ใช้กำลังประทุษร้าย หรือ ขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อ ชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือแม้กระทั่งทรัพย์สินของผู้ถูกข่มขู่หรือบุคคลที่สามแม้ในการข่มขู่นั้นจะไม่ได้พูดตรงๆมีแต่เพียงข้อความที่ส่อไปในแนวข่มขู่ก็มีความผิดแล้ว(ฎีกา 3656/2527)

4)การใช้กำลังประทุษร้าย สามารถอธิบายความหมายได้ตามมาตรา 1(6) ว่าหมายถึงการประทุษร้ายแก่ร่างกายและจิตใจของบุคคลอื่นไม่ว่าจะด้วยใช้แรงกายภาพหรือวิธีใดๆแม้จะยังมิได้ลงมือทำร้ายหากผู้เสียหายหวาดกลัวจนยินยอมมอบประโยชน์ในทางทรัพย์สินให้แก่ผู้ขู่ความผิดก็ถือว่าสำเร็จแล้ว(ฎีกา 3058/2539)

 

ดังนั้นหากมีผู้ใดมาข่มขู่เพื่อให้ท่านจ่ายค่าคุ้มครองหรือให้ท่านมอบทรัพย์สินอื่นๆของท่านให้แก่เขามิฉะนั้นจะเกิดอันตรายกับตัวท่านหรือบุคคลที่ท่านห่วงใย คนๆนั้นทำผิดฐานกรรโชกทรัพย์ท่านสามารถเอาผิดกับเขาได้ทันทีแม้ว่าท่านจะยังไม่ได้ส่งเงินของท่านให้แก่เขาเพราะถือว่าเขาได้พยายามกรรโชกทรัพย์ของท่านแล้วทั้งนี้หากมีใครมาทำการข่มคู่กรรโชกทรัพย์จากท่านหรือท่านถูกกล่าวหาในคดีความอาญา ท่านสามารถติดต่อบริษัท เอสแอลเอส2517 จำกัด  เพื่อขอรับคำปรึกษาหรือทำการต่อสู้คดีได้ที่เบอร์ 063-995-3361

             คำพิพากษาฎีกาตัวอย่างประกอบ

Visitors: 58,069