บทความทางกฎหมาย

 


  • ฎ.1.png
    เมื่อพูดถึงกฎหมายหลายท่านอาจจะคิดอาจว่าเป็นเรื่องไกลตัวแต่ความจริงกฎหมายเป็นสิ่งที่อยู่รอบๆตัวท่านและเกี่ยวข้องกับตัวท่านนับตั้งแต่ท่านเกิดเลยทีเดียวเพราะฉะนั้นเพื่อไม่ให้...

ทษทางอาญา
ตามกฎหมายอาญามาตรา 18 ได้กำหนดโทษไว้ 5 สถาน คือ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน

          การลงโทษประหารชีวิต กฎหมายกำหนดให้ดำเนินการด้วยวิธีฉีดยาหรือสารพิษให้ตาย
          โทษจำคุก โทษจำคุกให้เริ่มแต่วันมีคำพิพากษา แต่ถ้าผู้ต้องคำพิพากษาถูกคุมขังก่อนศาลพิพากษา ให้หักจำนวนวันที่ถูกคุมขังก่อนศาลพิพากษา ให้หักจำนวนวันที่ถูกคุมขังออกจากระยะเวลาจำคุก
          วิธีการให้ศาลยกโทษจำคุกได้ ตามมาตรา
55 โทษจำคุกที่ผู้กระทำความผิดจะต้องรับมีกำหนดเพียงสามเดือนหรือน้อยกว่า ศาลจะกำหนดโทษให้น้อยลงอีกก็ได้ หรือโทษจำคุกที่ผู้กระทำผิดจะต้องรับมีกำหนดเพียงสามเดือนหรือน้อยกว่าและมีโทษปรับด้วย ศาลจะกำหนดโทษจำคุกน้อยลงหรือยกโทษจำคุกและให้เหลือเพียงปรับอย่างเดียว

          รอการลงโทษ ตามมาตรา56 ผู้ใดกระทำความผิดซึ่งมีโทษจำคุกหรือปรับ และศาลจะลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปีไม่ว่าจะลงโทษปรับด้วยหรือไม่ก็ตามหรือลงโทษปรับ ถ้าปรากฏว่าผู้นั้น
(๑) ไม่เคยรับโทษจำคุกมาก่อน หรือ
(๒) เคยรับโทษจำคุกมาก่อนแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ หรือเป็นโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือ
(๓) เคยรับโทษจำคุกมาก่อนแต่พ้นโทษจำคุกมาแล้วเกินกว่าห้าปี แล้วมากระทำความผิดอีก โดยความผิดในครั้งหลังเป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษและเมื่อศาลได้คำนึงถึงอายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปัญญา การศึกษาอบรมสุขภาพ ภาวะแห่งจิต นิสัย อาชีพ และสิ่งแวดล้อมของผู้นั้น หรือสภาพความผิด หรือการรู้สึกความผิด และพยายามบรรเทาผลร้ายที่เกิดขึ้น หรือเหตุอื่นอันควรปรานีแล้ว ศาลจะพิพากษาว่าผู้นั้นมีความผิดแต่รอการกำหนดโทษหรือกำหนดโทษแต่รอการลงโทษไว้ ไม่ว่าจะเป็นโทษจำคุกหรือปรับอย่างหนึ่งอย่างใดหรือทั้งสองอย่าง เพื่อให้โอกาสกลับตัวภายในระยะเวลาที่ศาลจะได้กำหนดแต่ต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่ศาลพิพากษา โดยจะกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของผู้นั้นด้วยหรือไม่ก็ได้

          กฎหมายกำหนดวิธีการ 2 วิธี คือ มีคำพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดแต่รอการกำหนดโทษไว้ หรือศาลกำหนดโทษแต่รอการลงโทษนั้น

          แต่หากความปรากฏแก่ศาลว่าผู้กระทำความผิดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด ศาลอาจตักเตือนผู้กระทำความผิด หรืจะกำหนดการลงโทษที่ยังไม่ได้กำหนดหรือลงโทษที่รอไว้ก็ได้

          โทษกักขัง เป็นโทษจำกัดเสรีภาพในร่างกายแต่เบากว่าโทษจำคุก ผู้ต้องโทษกักขังจะถูกกักตัวไว้ในสถานที่กักขังซึ่งมิใช่เรือนจำ โทษเป็นโทษที่เปลี่ยนจากโทษจำคุกมาเป็นกักขัง หากผู้กระทำความผิดซึ่งมีโทษจำคุก และในคดีนั้นศาลจะลงโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน ถ้าไม่ปรากฏว่าผู้นั้นได้รับโทษจำคุกมาก่อน หรือปรากฏว่าได้รับโทษจำคุกมาก่อนแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ ศาลจะให้ลงโทษกักขังไม่เกินสามเดือนแทนโทษจำคุกนั้นก็ได้
          โทษปรับ ผู้ใดต้องโทษปรับ ผู้นั้นจะต้องชำระเงินตามจำนวนที่กำหนดไว้ในคำพิพากษาต่อศาล
กรณีไม่ชำระค่าปรับภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ศาลพิพากษา ศาลจะยึดทรัพย์สินเพื่อใช้ค่าปรับ

สั่งให้กักขังแทนค่าปรับ แต่ถ้าศาลเห็นว่าผู้นั้นจะหลีกเลี่ยงไม่ชำระค่าปรับ ศาลจะสั่งเรียกประกันหรือจะสั่งให้กักขังผู้นั้นแทนค่าปรับไปก่อนก็ได้

          โทษริบทรัพย์สิน ได้แก่ ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้ หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด หรือ

ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้มาโดยได้กระทำความผิด เว้นแต่เป็นทรัพย์สินของผู้อื่นซึ่งมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด

Visitors: 58,132