ฎีกา คดีกรรโชกทรัพย์

 คำพิพากษาฎีกาที่ 478/2559

                                จำเลยขู่ให้โจทก์และโจทก์ร่วมให้ไปโอนขายสิทธิในการเช่าพื้นที่ราชพัสดุซึ่งมีชื่อ ส.บุตรของโจทก์ร่วมถือสิทธิอยู่โดยโจทก์ร่วมก็ได้ขอให้ ส โอยขายสิทธิการเช่าที่ราชพัสดุให้กับผู้อื่นเงินที่ได้จากการขายนั้นเข้าบัญชีโจทก์ร่วม แม้โจทก์ร่วมจะยอมทำตามคำขู่ของจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 ก็ไม่ได้รับประโยชน์ในทางทรัพย์สินโดยตรงจึงไม่เป็นความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ แต่การข่มขู่ของจำเลยที่ 1 นั้นทำให้โจทก์ร่วมหวาดกลัวว่าจะเกิดอันตรายแก่ตัวหรือครอบครัวการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดต่อเสรีภาพตาม ป.อ มาตรา 309 วรรคแรก ซึ่งเป็นความผิดที่รวมอยู่ในฐานกรรโชกตามที่โจทก์ฟ้อง

 คำพิพากษาฎีกาที่ 3656/2527

                                จำเลยบอกกับผู้เสียหายว่ามีคนจ้างให้จำเลยมาฆ่าผู้เสียหาย แต่ไม่บอกว่าใครเป็นคนจ้างและได้ขอเงินจากผู้เสียหาย หากผู้เสียหายไม่ให้ก็จะไม่รับรองความปลอดภัยให้ผู้เสียหายกลัวจึงยอมตกลงให้เงินและนัดให้มารับเงินวันรุ่งขึ้นคำพูดดั่งกล่าวเป็นการข่มขู่ให้ผู้เสียหายยอมให้หรือยอมจะให้ซึ่งเงิน อันเป็นการครบองค์ประกอบฐานกรรโชก แม้จะใช้คำว่า ขอ หรือ เพื่อบอกชื่อผู้จ้าง ก็เป็นเพียงเหตุผลประกอบการข่มขู่เท่านั้นแม้ผู้เสียหายจะยอมเพื่อให้รู้ชื่อของผู้ที่จ้างวานก็เป็นความผิดฐานกรรโชกทรัพย์

 คำพิพากษาฎีกาที่ 3058/2539

                                จำเลยเลยขอเงินค่าจอดรถจากผู้เสียหายทั้งสองคนละ 10 บาท ผู้เสียหายทั้งสองไม่ยอมให้จำเลยพูดขู่ว่าจะชกต่อยผู้เสียหายที่ 1 และนำเอาอาวุธปลายแหลมมาจ่อห่างจากไหล่ผู้เสียหายที่ 2 เพียงเล็กน้อย ผู้เสียหายทั้งสองเกิดความกลัวจึงส่งเงินให้จำเลยคนละ 10 บาท แม้จำเลยจะไม่มีอำนาจเรียกเก็บเงินจากพื้นที่ดั่งกล่าวแต่การข่มขู่นั้นก็มิได้เกิดขึ้นเฉพาะเจาจงแก่ตัวผู้เสียหายทั้งสองคนอย่างเดียวแต่จำเลยเรียกเก็บเงิน 10 บาทจากทุกคนที่เข้ามาจอดคนละ 10 บาท เท่าๆกันหากไม่ให้ก็จะให้นำรถไปจอดที่อื่นหากยังยืนยันจะจอดในที่ดั่งกล่าวก็จะทำร้ายการข่มขู่ดั่งกล่าวจึงเป็นการขู่ที่มีเงื่อนไขผู้เสียหายทั้งสองจึงสามารถตัดสินใจได้อยู่ว่าจะให้หรือไม่ก็ได้ จำเลยจึงไม่ผิดฐานลักทรัพย์ และ ไม่ผิดฐานชิงทรัพย์ เพราะมิได้มีเจตนาจะแย่งการครอบครองเงินของผู้เสียหายทั้งสองโดยตรง แต่การกระทำของจำเลยเป็นการข่มขืนใจผู้เสียหายให้ยอมทำตามจึงเป็นความผิดฐานกรรโชกทรัพย์สำเร็จตาม ป.อ มาตรา 337

Visitors: 73,539