การทุเลาการบังคับจำคุก

          บริษัท เอสแอลเอส(2017) จำกัด มีทึีมทนายความคอยให้ช่วยเหลือในคดีอาญามากประสบการณ์ หากท่านต้องการปรึกษาคดีติดต่อได้ที่เบอร์063-995-3361 หรือ E-mail : sls2017law@hotmail.com, sls2017law@gmail.com 

 

เมื่อจำเลยต้องโทษให้จำคุก ต้องทำอย่างไรถึงจะไม่ติดคุกได้ (ชั่วคราว)

การขอทุเลาการบังคับจำคุก ป.วิ.อ. ม.246

            กล่าวคือ การที่เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่บังคับตามคำพิพากษายังไม่ได้มีการบังคับตามโทษที่ศาลมีคำพิพากษาเป็นการชั่วคราว ชั่วระยะเวลาใดเวลาหนึ่งจนกว่าเหตุที่ขอจะได้หมดไป หรือศาลได้กำหนดระยะเวลาการทุเลาการบังคับจำคุกไว้เป็นที่แน่นอนแล้ว

 

บุคคลที่มีสิทธิร้องขอต่อศาล

          1.ตัวจำเลยเอง

          2.คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง

          3.ญาติของจำเลยเอง

          4.พนักงานอัยการ

          5.ผู้บัญชาการเรือนจำ

          6.พนักงานผู้มีหน้าที่จัดการตามหมายจำคุก

          7.ศาลเห็นศาลสั่งเองได้

                   คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1576/2555 โจทก์ฟ้องและจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์คดีจึงถึงที่สุด ว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำพิพากษา จำเลยทั้งสองมิอาจโต้เถียงในชั้นบังคับคดีว่า การกระทำของจำเลยทั้งสองไม่เป็นความผิดและศาลชั้นต้นลงโทษปรับเกินควรมิได้ หากศาลฟังข้ออ้างจะมีผลเป็นการแก้ไขคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้ว ขัดต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 190

                   ตามคำพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระค่าปรับวันละ 500 บาท จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง คือ ให้ทำตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 21 จำเลยทั้งสองจึงต้องชำระค่าปรับจนกว่าจะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือใบรับแจ้งตามมาตรา 39 ทวิ และพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ไม่มีบทบัญญัติใดให้การชำระค่าปรับรายวันสะดุดหยุดอยู่หรือได้ให้อำนาจศาลในการใช้ดุลพินิจมีคำสั่งทุเลาหรืองดการบังคับชำระค่าปรับไว้ชั่วคราว ในระหว่างที่จำเลยทั้งสองดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น มีแต่เพียงบทบัญญัติที่ให้ศาลมีอำนาจสั่งทุเลาการบังคับโทษจำคุกไว้ก่อนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 246 

 

เหตุที่จะขอทุเลาการจำคุกมีดังนี้

          1.จำเลยวิกลจริต
                   กรณีที่จำเลยวิกลจริตนี้ หากเป็นโทษถึงขั้นประหารชีวิตและบุคคลนั้นวิกลจริตอยู่ก่อนถูกประหารชีวิต ให้รอการประหารชีวิตไว้จนกว่าจะหายและขณะทุเลาอยู่นั้นศาลอาจสั่งกักขังหรือทำทัณฑ์บนหรือหาประกันก็ได้ หรือจะสั่งห้ามเข้าเขตที่กำหนดก็ได้ และถ้าผู้วิกลจริตนั้นหายภายใน 1 ปีนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลดโทษประหารชีวิตเป็นจำคุกตลอดชีวิต ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 248

          2.เมื่อเกรงว่าจำเลยจะถึงอันตรายแก่ชีวิตหากต้องจำคุก

          3.จำเลยตั้งครรภ์
                   ก่อนการแก้ไขปี 2550 คือต้องมีการตั้งครรภ์ตั้งแต่ 7 เดือนขึ้นไป แต่ ณ ปัจจุบันที่แก้ไขแล้ว เพียงแต่ตั้งครรภ์ก็เป็นเหตุที่จะขอได้แล้ว  

                   คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6589/2547 จำเลยยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับคดี 246 (3) (4) จำเลยมีครรภ์ 7 ปีขึ้นไปและจำเลยคลอดบุตรแล้วยังไม่ถึง 1 เดือน จำเลยคลอดบุตรก่อนศาลอุทธรณ์จะทำคำพิพากษาเหตุในการขอทุเลาหมดไปแล้ว ไม่มีเหตุที่จะต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลยว่ามีเหตุ (3) (4) เพราะไม่มีประโยชน์แก่การพิจารณา เนื่องจากไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป  

          4.จำเลยคลอดบุตรแล้วแต่ยังไม่ถึง 3 ปีและจำเลยต้องเลี้ยงดู


    ถ้าศาลเห็นว่าเป็นดัง 4 เหตุกรณีนี้ ศาลจะสั่งให้ทุเลาการบังคับไว้ก่อนจนกว่าเหตุที่ได้ขอต่อศาลนี้จะหมดไป   

          กรณีศาลมีคำสั่งให้ทำการทุเลาการบังคับได้ ต่อมาพฤติการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไปหรือจำเลยมิได้ปฏิบัติตามวิธีการหรือมาตรการ ศาลมีอำนาจเปลี่ยนแปลงคำสั่งหรือให้ดำเนินการตามหมายจำคุกได้

 

          และวรรคท้ายของมาตรา 246 นี้ จะมีวิธีคำนวณลบหักล้างวันที่จำเลยได้อยู่ในความควบคุมกับโทษจำคุกที่ศาลได้มีการพิพากษานี้ด้วย วิธีคิดคำนวณ คือ นำวันที่จำเลยอยู่ในความควบคุมต้องนำมาหักกับระยะเวลาที่จำคุกตามคำพิพากษา จะเป็นโทษจำคุกที่จำเลยต้องรับต่อภายหลังเหตุในที่ขอในการทุเลาการบังคับจำคุกหมดไป 

 

          ดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น จะเห็นได้ว่าเหตุในการขอทุเลาการบังคับจำคุกมี 4 เหตุ ซึ่งการที่ศาลจะอนุญาตให้ตามคำร้องหรือไม่ขึ้นอยู่กับสภาวะและพฤติการณ์จำเลยแต่ละท่าน รูปคดีที่ถูกฟ้อง รวมถึงโทษจำคุกที่ศาลได้มีการพิพากษา เพราะมาตรานี้เป็นดุลพินิจศาลว่าจะให้ตามคำขอหรือไม่   

 

 

 

Visitors: 73,532