การประกันตัว

       บทความการประกันตัว  บริษัทฯเรามีทนายความมืออาชีพมากมาย หากท่านสนใจต้องการติดต่อได้ที่เบอร์ 063-995-3361 
หรือ E-mail : sls2017law@hotmail.com, sls2017law@gmail.com

ทำไมผู้ต้องหาบางคนถึงยื่นประกันตัวไม่ได้ ? ประกันตัวคดีอาญาต้องทำอย่างไร ติดต่อบริษัทฯ 099-096-4440  , 063-995-3361
1.เป็นไปตามเกณฑ์ มาตรา 108/1 ป.วิ.อ. ถ้ามีเหตุดังต่อไปนี้ ศาลจะสั่งให้ไม่ประกันตัว
             (1) ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะหลบหนี
             (2) ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน
             (3) ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น
             (4) ผู้ร้องขอประกันหรือหลักประกัน ไม่น่าเชื่อถือ
             (5) การอนุญาตให้ประกันตัวจะเป็นอุปสรรคหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อการสอบสวนของเจ้าพนักงานหรือการดำเนินคดีในศาล
2.พนักงานอัยการหรือพนักงานสอบสวนคัดค้านการประกันตัว
            คือ มีการระบุในคำร้องขอฝากขังว่าขอคัดค้านการประกันตัวผู้ต้องหา

3.ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งหรือไม่มีการงาน
            เนื่องจากที่ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งนี้ เชื่อว่าอาจมีการหลบหนีได้โดยง่ายและมิอาจตามตัวได้พบ
4.ผู้นั้นได้มีการรับสารภาพในชั้นสอบสวนและชั้นพิจารณาในศาล
            การรับสารภาพในชั้นศาลนี้หากคดีความผิดโทษจำคุกน้อยกว่า 5 ปี ศาลจะพิจารณาเลยก็ได้โดยไม่ต้องสืบพยาน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 จึงอาจพิพากษาได้เลย
5.ไม่มีแจ้งถึงเหตุผลในการขอประกันตัวให้ศาลทราบ
            กล่าวคือ ต้องเขียนเหตุแสดงให้ศาลเห็นว่ามีเหตุผลอย่างไรที่จะขอประกันตัวออกไปในคำร้อง เช่น ขอไปรักษาตัวเพราะเป็นโรคที่ต้องทำการรักษาอยู่สม่ำเสมอก็ต้องมีใบรับรองแพทย์มายืนยันต่อศาล

6.หลักทรัพย์ที่มาขอใช้ประกันตัวไม่น่าเชื่อถือ
            กล่าวคือ หากมีการวางประกันต่อศาล โดยการใช้หลักทรัพย์หลักทรัพย์นั้นต้องไม่ต่ำกว่ากำหนดที่ศาลให้ประกันและควรเป็นหลักทรัพย์ที่คำนวณเป็นจำนวนเงินแน่นอนได้ เช่น ที่ดิน ตั๋วแลกเงิน สลากออมสิน เงินสด เป็นต้น กรณีใช้บุคคลเป็นเป็นประกัน ต้องเป็นผู้ดำรงตำแหน่งมีหน้าที่การงานหรือมีรายได้แน่นอน อีกทั้งต้องเป็นผู้มีความสัมพันธ์กับผู้ต้องหาหรือจำเลย หรือเป็นบุคคลที่มีความใกล้ชิด 
7.ผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นผู้ไม่น่าเชื่อถือ คือ เป็นผู้ที่เคยได้รับการปล่อยตัวมาแล้วครั้งหนึ่งแต่กลับหลบหนี
8.คดีที่ก่อให้เกิดผลกระทบโดยทั่วไปต่อความมั่นคง เศรษฐกิจ การเมือง และความเสียหายต่อประชาชนโดยทั่วไป

การขอประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยต่อศาลจะทำได้ในชั้นใดบ้าง ?
            1.การขอประกันตัวระหว่างชั้นฝากขัง คือ ขณะเป็นผู้ต้องหายังไม่ได้ถูกสั่งฟ้องคดี
            2.การขอประกันตัวในศาลชั้นต้น คือ กรณีอัยการเป็นโจทก์ฟ้องได้ยื่นฟ้องต่อศาลชั้นต้นแล้ว หรือ กรณีที่ราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องเอง ศาลชั้นต้นได้มีการไต่สวนมูลฟ้องและมีการประทับรับฟ้องแล้ว
            3.การขอประกันตัวชั้นอุทธรณ์หรือฎีกา เมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาลงโทษจำเลยตามความผิดอาจมีการขอประกันตัวได้ 

การขอประกันตัวมี 3 ประเภท
            1.การประกันตัวโดยไม่มีประกัน เป็นการที่จำเลยสาบานต่อศาลหรือปฏิญาณตนว่าจะมาศาลตามกำหนดนัดหรือหมายเรียก
            2.การประกันตัวโดยมีประกัน เป็นการทำสัญญาประกันต่อศาลว่าจะมาศาลตามกำหนดนัดหรือหมายเรียก หากไม่มาผู้ทำสัญญาประกันจะต้องถูกปรับตามสัญญาประกันที่ทำไว้ต่อศาล
            3.การประกันตัวโดยมีประกันและหลักประกัน เหมือนข้อ 2. แต่เพิ่มการวางหลักประกันเข้ามาในเรื่องนี้

ผู้ที่มีสิทธิยื่นคำร้องขอประกันตัว
         
1.ผู้ต้องหาหรือจำเลย
         
2.ผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้อง  เช่น บุพการี  ผู้สืบสันดาน  คู่สมรส  ญาติพี่น้อง  ผู้บังคับบัญชา เป็นต้น

การขอยื่นประกันตัวต้องขอที่ใคร
1.ผู้ต้องหาถูกควบคุมตัวอยู่และยังมิได้ถูกฟ้อง ให้ยื่นต่อพนักงานสอบสวน หรือ พนักงานอัยการ
2.ผู้ต้องหาถูกหมายขังและยังไม่ถูกฟ้องให้ยื่นต่อศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีนั้น ๆ
3.จำเลยที่ศาลประทับฟ้องแล้ว ขอต่อศาลที่ประทับฟ้องนั้น
4.ถ้าชั้นอุทธรณ์หรือชั้นฎีกา
            กรณีสำนวนยังอยู่ที่ศาลชั้นต้นให้ร้องขอต่อศาลชั้นต้นที่ชำระคดีนั้น ในกรณีที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรให้ปล่อยชั่วคราว ศาลชั้นต้นจะสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวได้ แต่หากศาลชั้นต้นไม่เห็นด้วยให้รีบส่งคำร้องพร้อมสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาเพื่อสั่งต่อไป แล้วแต่กรณี

            กรณีสำนวนอยู่ที่ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาแล้ว จะยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นและให้ศาลชั้นต้นส่งต่อมายังศาลสูงต่อไป โดยศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอะไรเองไม่ได้ เพราะสำนวนมิได้อยู่ที่ศาลชั้นต้นแล้วศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจ หรือจะยื่นต่อศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาโดยตรงก็ได้แล้วแต่กรณี


หลักเกณฑ์ทางแก้ในการขอให้ประกันตัวใหม่กรณีประกันตัวแล้วศาลไม่อนุญาต 
1.ต้องแสดงหลักฐานว่าจำเลยไม่เกี่ยวกับการกระทำความผิด หรือเป็นผู้บริสุทธิ์
2.จำเลยต้องเพิ่มจำนวนหลักประกันให้เป็นที่พอใจของศาลตามสมควร
3.จำเลยใช้สิทธิยื่นประกันตัวใหม่ต่อศาลเดิม 
4.หรือใช้สิทธิอุทธรณ์หรือฎีกาต่อศาลสูงต่อไป 
5.จำเลยยื่นคำร้องขอนำพยายเข้าสืบ
เพื่อหักล้างคำคัดค้านของโจทก์หรือยื่นคำร้องประกอบ

Visitors: 74,746