กฎหมายทั่วไป
- ความคิดเห็น
- Facebook Comments
ทำไมบางครั้งถูกขโมยของไปแล้วศาลไม่ตัดสินให้จำเลยมีความผิด ?
มาตรา 334 วางหลักว่า ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวม อยู่ด้วยไปโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ต้องระวาง โทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินหกพันบาท
มาตรา 334 มีองค์ประกอบความผิดดังนี้
องค์ประกอบภายนอก
1.ผู้ใด คือ ผู้กระทำความผิด
2.เอาไป คือ การแย่งการครอบครองในลักษณะตัดรอนกรรมสิทธิ์ออกจากเจ้าของทรัพย์เดิม โดยการเข้าครอบครองพาทรัพย์นั้นเคลื่อนที่ออกไปจากที่ที่ทรัพย์เดิมเคยอยู่ แม้เพียงเคลื่อนที่เล็กน้อยก็เป็นความผิดสำเร็จแล้ว
3.ทรัพย์ของผู้อื่น กล่าวคือ ทรัพย์ของใครก็ได้ที่มิใช่ของผู้กระทำความผิดเอง มิฉะนั้นแม้เข้าใจว่าเป็นทรัพย์ของบุคคลอื่น แต่ความจริงเป็นทรัพย์ของผู้กระทำความผิดนั้นเองก็ไม่มีความผิดเกิด เพราะขาดองค์ประกอบภายนอกนี้
องค์ประกอบภายใน
โดยทุจริต คือ เป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย หากผู้กระทำไม่มีเจตนาที่จะทุจริตที่จะเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนแล้ว แม้ครบองค์ประกอบภายนอกของมาตรา 334 ก็ไม่ทำให้ผู้กระทำมีความผิด ดังเช่น
คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๙๑๕/๒๕๔๓ จำเลยทั้งสองจ้างให้ผู้เสียหายขับขี่รถจักรยานยนต์ไปส่ง ระหว่างทางมีการบังคับให้ผู้เสียหายเข้าไปในกระท่อม แต่ผู้เสียหายไม่ยอม จำเลยที่ ๒ เอามือรัดคอผู้เสียหายและดึงเอกุญแจรถให้กับจำเลยที่ ๑ ซึ่งนั่งคร่อมรถอยู่ เมื่อมีคนผ่านมาจำเลยทั้งสองก็เอาจักรยานยนต์ไป โดยบอกผู้เสียหายว่าให้ไปเอาคืนที่โรงเรียน แสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองเพียงต้องการเอาจักรยานยนต์ไปใช้เพียงชั่วคราว โดยตั้งใจจะคืนให้ภายหลัง ไม่ได้กระทำเพื่อตัดกรรมสิทธิ์ตลอดไป จึงไม่ใช่การกระทำที่ถือว่าเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปอันเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ จำเลยทั้งสองก็ไม่มีความผิดฐานชิงทรัพย์ด้วย เอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยวิสาสะในความเป็นญาติ ไม่มีเจตนาทุจริต ไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์
วิเคราะห์ฎีกา
ฎีกานี้จะเห็นได้ว่าครบองค์ประกอบภายนอก คือ ผู้ใด(จำเลยทั้งสอง) เอาไป(ครอบครองขับขี่รถจักรยานยนต์ไปที่โรงเรียน) ทรัพย์ผู้อื่น(รถจักรยานยนต์ของผู้เสียหาย) ซึ่งครบองค์ประกอบภายนอกของมาตรา 334 แต่เนื่องจากจำเลยทั้งสองนี้ไม่มีเจตนาที่จะเอารถจักรยายนต์ของผู้เสียหายไป กล่าวคือ มีการบอกผู้เสียหายว่าให้ไปเอาคืนที่โรงเรียนแสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองเพียงต้องการเอารถจักรยานยนต์ไปใช้เพียงชั่วคราวโดยตั้งใจจะคืนให้ภายหลัง ดังนี้แสดงว่าจำเลยทั้งสองไม่มีเจตนาจึงมิได้เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ เพราะว่าถ้าครบองค์ประกอบภายนอกหากไม่มีเจตนาที่เป็นองค์ประกอบภายในแล้วก็จะไม่เป็นความผิดฐานนี้
-
บทความการประกันตัว บริษัทฯเรามีทนายความมืออาชีพมากมาย หากท่านสนใจต้องการติดต่อได้ที่เบอร์063-995-3361หรือ E-mail : sls2017law@hotmail.com, sls2017law@gmail.com
-
บริษัท เอสแอลเอส(2017) จำกัด มีทึีมทนายความคอยให้ช่วยเหลือในคดีอาญามากประสบการณ์ หากท่านต้องการปรึกษาคดีติดต่อได้ที่เบอร์063-995-3361 หรือ E-mail : sls2017law@hotmail.com, sls...
-
ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ทางเราได้วางองค์ประกอบทั้งภายในและภายนอกไว้ เพื่อให้ท่านเข้าใจฐานความผิดแต่ละฐานโดยง่ายว่าแต่ละฐานความผิดนั้นแตกต่างกันอย่างไร ลักทรัพย์ มาตรา 334 ยักยอกท...
-
คดีแพ่ง คืออะไร? คดีที่ฟ้องเพื่อเรียกเงินระหว่างกันเช่น คดีกู้ยืมเงิน คดีผิดสัญญา คดีเช่าทรัพย์ คดีตั๋วเงิน คดีจำนอง คดีซื้อขาย คดีมรดก เป็นต้นเป็นคดีที่เกี่ยวกับเรื่องส่วนตัวของบุ...
-
คดีอาญา คือคดีที่ฟ้องร้องกันเพราะมีการทำความผิดทางอาญาหรือที่พูดกันง่ายๆ ว่าฟ้องร้องเพื่อให้อีกฝ่าย ติดคุก โดนปรับ ถูกกักขัง โดนริบทรัพย์สิน ประหารชีวิต คดีอาญามีกี่ประเภท...
-
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง การหลอกลวง ฉ้อโกงคนอื่นมีตั้งแต่หลอกลวงคนคนเดียวไปจนถึงหลอกลวงคนเป็นจำนวนมาก และมีหลากหลายรูปแบบ สิ่งที่ต้องการจากการหลอกลวงก็แตกต่างกันไป และความผิดฐานฉ้อ...
-
การลักทรัพย์ การลักทรัพย์ คือ การเอาทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไป โดยต้องการจะครอบครองทรัพย์นั้นไว้ เพื่อตนเองเอาไปขายหรือให้กับบุคคลอื่นก็ตามแต่ ผู้ที่กระ...
คดีอาญา กับ คดีแพ่ง ต่างกันอย่างไร ?
กฎหมายอาญา คือ ความผิดที่มีกฎหมายบัญญัติให้ต้องโทษ หากการกระทำใดไม่มีกฎหมายกำหนดให้การกระทำนั้นเป็นความผิดผู้นั้นก็ไม่ต้องรับผิดทางอาญา เพราะหัวใจของกฎหมายอาญา คือ “บุคคลจักต้องรับโทษในทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้น" ตามมาตรา 2 ของประมวลกฎหมายอาญาที่บัญญัติไว้
ความผิดทางอาญามี 5 ฐาน ตามมาตรา 18 คือ
1.ประหารชีวิต 2.จำคุก 3.กักขัง 4.ปรับ 5.ริบทรัพย์สิน
กฎหมายแพ่ง มีชื่อเรียกเต็มๆว่า “ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์” เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับเอกชนกับเอกชนว่ากันด้วยเรื่อง สิทธิ หน้าที่ และความสัมพันธ์ระหว่างกัน กฎหมายนี้จะเป็นการควบคุมผู้กระทำผิดโดยมุ่งหมายที่ตัวทรัพย์สิน บทลงโทษจะเป็นการเรียกปรับ หรือสั่งให้ชดเชยค่าเสียหาย หรือค่าสินไหมทดแทน
คดีแพ่งนี้ไม่จำต้องเกิดข้อพิพาทระหว่างกันก็ได้ เราสามารถใช้สิทธิทางศาลโดยทำเป็นคำร้อง เช่น การขอตั้งผู้จัดการมรดก ขอให้ศาลสั่งเป็นบุคคลไร้ความสามารถ ขอให้แสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ครอบครองปรปักษ์(ต้องไม่มีเจ้าของที่ดินโต้แย้งมา มิฉะนั้นจะกลายเป็นคดีมีข้อพิพาท) และหากกรณีมีการโต้แย้งสิทธิระหว่างกันก็จะทำเป็นคำฟ้อง เช่น ฟ้องให้ปฏิบัติตามสัญญา เรียกคืนทรัพย์ที่พิพาท ละเมิด เป็นต้น
กฎหมายแพ่งจะต่างกับกฎหมายอาญาตรงที่ หากการกระทำใดไม่มีบทกฎหมายมาปรับใช้แก่คดี ศาลจะอ้างว่าไม่มีกฎหมายไม่มีโทษแบบคดีอาญาไม่ได้ ศาลต้องดูกฎหมายแพ่งเป็นหลัก ไม่มีใช้ “จารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น” ไม่มีอีกใช้ “บทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง” และหากไม่มีอีกอย่างสุดท้ายต้องวินิจฉัยตาม “หลักกฎหมายทั่วไป”ดังที่บัญญัติไว้ ป.พ.พ.มาตรา 4
สรุป กฎหมายอาญา เน้นลงโทษผู้กระทำผิดเป็นสำคัญ กฎหมายแพ่ง เน้นเยียวยาความเสียหาย
ในคดีแพ่ง กับ คดีอาญา หากคดีขาดอายุความแล้วลืมต่อสู้ผลเป็นอย่างไร
คดีแพ่ง
คดีแพ่งขาดอายุความแล้วหากไม่มีการโต้แย้งไว้ในคำให้การ จะทำให้ไม่เกิดเป็นประเด็นข้อพิพาทในคดี เพราะการที่ศาลจะตั้งประเด็นข้อพิพาทได้ศาลต้องพิจารณาตามที่ปรากฏตามเนื้อหาในคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 เมื่อไม่เกิดประเด็นในเรื่องอายุความแล้ว ศาลก็ไม่มีอำนาจที่จะวินิจฉัยไปถึงเรื่องนี้ เนื่องจากคำพิพากษาของศาลจะวินิจฉัยเกินหรือนอกคำฟ้องหาได้ไม่
อีกทั้งการขาดอายุความในคดีแพ่ง ศาลไม่มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้เหมือนดังคดีอาญา จึงไม่เข้า ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยฯ
คดีอาญา
คดีอาญาขาดอายุความแล้ว ทำให้สิทธิในการนำคดีอาญามาฟ้องระงับ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39(6) ดังนั้นไม่ว่าจะได้ให้การต่อสู้ไว้หรือไม่ เมื่อศาลเห็นเองศาลสามารถหยิบยกประเด็นเรื่องขาดอายุความมาพิจารณายกฟ้องได้ เพราะเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยฯ ตาม ป.วิ.อ. ม.15 ประกอบ ป.วิ.อ. ม.142(5)
และตาม ป.วิ.อ. ม.185 ก็ได้กล่าวไว้ว่า ถ้าศาลเห็นว่าจำเลยคดีขาดอายุความแล้ว ศาลมีอำนาจยกฟ้องได้ ไม่ว่าคดีจะอยู่ชั้นใดก็ตาม ศาลหยิบประเด็นเรื่องนี้เองได้โดยไม่จำต้องมีผู้ใดได้โต้แย้งเรื่องนี้ไว้
ความผิดอันยอมความได้อายุความเท่าไหร่น้า?
ความผิดอันยอมความได้ หากไม่มีการแจ้งความร้องทุกข์ หรือมีการฟ้องร้องต่อศาลเอง ตำรวจหรืออัยการไม่มีอำนาจทำคดีนะคะ
อายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96 กรณีความผิดอันยอมความได้ผู้เสียหายต้องร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน นับแต่รู้เรื่อง รู้ตัว(ต้อง 2 รู้นะ) หากไม่ทำภายใน 3 เดือนนี้ คดีขาดอายุความ
เมื่อคดีขาดอายุความแล้ว สิทธิการฟ้องคดีต่อศาลเป็นอันระงับ ตาม มาตรา 39 (6) ตาม ป.วิ.อ
ฉ้อโกง คือ การกระทำความผิดฐานฉ้อโกงนั้นก็คือการหลอกลวงคนอื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดความจริงที่ควรบอก ซึ่งเป็นการกระทำโดยทุจริต และการหลอกลวงทำให้ได้ทรัพย์สินไปจากผู้ถูกหลอกลวงหรือคนอื่นๆ หรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือคนอื่นต้องทำ ถอนหรือทำลายเอกสารสิทธิ
การหลอกลวงนี้หากทำไปไม่ถึงขั้นสำเร็จได้ไปซึ่งทรัพย์สิน หรือ ยังมิได้มีการถอน หรือ ทำลายเอกสารสิทธิก็เป็นเพียงขั้นพยายามเท่านั้น จะเป็นความผิดฐานพยายามฉ้อโกง
ฉ้อโกงมีความแตกต่างกับลักทรัพย์
ตรงที่มีการ "หลอกลวง" ให้ได้ไปซึ่งทรัพย์ หรือ ถอน หรือ ทำลายซึ่งเอกสารสิทธิ ซึ่งการลักทรัพย์นี้ไม่ต้องกมีการหลอกลวงโดยแสดงข้อความใด ๆ เพียงแต่เอาทรัพย์นั้นที่เป็นของผู้อื่นไปเป็นของตนเพียงเท่านั้น
และการเอาทรัพย์ไปของลักทรัพย์ต้องเป็นทรัพย์สิน ไม่เหมือนฉ้อโกงตรงที่จะเป็นทรัพย์สิน หรือ ประโยชน์ในทางทรัพย์สินก็ได้
องค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกง
องค์ประกอบภายนอก
1.หลอกลวงด้วย
- แสดงข้อความอันเป็นเท็จ คือ การแสดงข้อเท็จจริงที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง โดยกฎหมายมิได้จำกัดวิธีการไว้ว่าต้องแสดงโดยวิธีใด อาจจะกระทำโดยทางวาจา โดยกิริยาอาการท่าทาง โดยลายลักษณ์อักษร
- ปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งซึ่งเป็นการกระทำซ่อนเร้นข้อเท็จจริงมิให้คู่กรณีรู้ กล่าวคือ มีข้อความจริงอยู่และผู้กระทำก็ไม่ได้แสดงข้อความนั้นแต่อย่างใด เพียงแต่ผู้กระทำปกปิดข้อความจริงบางอย่างมิให้อีกฝ่ายหนึ่งรู้ความจริง ซึ่งเป็นผลให้อีกฝ่ายหนึ่งสำคัญผิดได้ และที่สำคัญต้องเป็นข้อความจริงที่ควรบอกให้แจ้ง ถ้าไม่มีหน้าที่ที่ต้องบอกก็ไม่ผิดหากไม่แจ้ง
2.ผู้อื่น
3.โดยการหลอกลวงดังว่านั้น
- ได้ทรัพย์สินไปจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม
คำว่า ทรัพย์สินนั้น อาจได้ไปทั้งทรัพย์ที่มีรูปร่าง หรือ ทรัพย์ไม่มีรูปร่างก็ได้ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงประโยชน์ในลักษณะอันเป็นทรัพย์สิน
- ทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ทำ ถอนหรือทำลายเอกสารสิทธิ
คำว่า เอกสารสิทธิ หมายถึง เอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ
องค์ประกอบภายใน
1.เจตนาธรรมดาคือ ผู้กระทำต้องรู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบภายนอกของความผิด และผู้กระทำย่อมเล็งเห็นผลหรือประสงค์ต่อผล
2.เจตนาพิเศษ คือ ทุจริต
การทุจริต กล่าวคือ การแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองและผู้อื่น เป็นประโยชน์ในทางใดก็ได้ มิจำเป็นต้องประโยชน์ทางทรัพย์สินเพียงอย่างเดียว