แบล็คเมลล์

                จากที่ทางบริษัท SLS 2517 ได้นำเสนอความรู้ทางกฎหมายทั้งในความผิดฐาน ลักทรัพย์และวิ่งราวทรัพย์ วันนี้ทางบริษัท SLS 2517 ก็จะขอนำเสนอความผิดที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์เช่นเดิมเพียงแต่ในคราวนี้นั้นจะมีดีกรีความเข้มข้นของเรื่องที่เพิ่มมากขึ้นและใกล้ตัวของท่านมากขึ้นขอให้ท่านโปรดติดตาม

                โดยในวันนี้จะขอนำเสนอในเรื่องที่หลายๆท่านรู้จักกันนั่นคือความผิดในทางกฎหมายอาญาของการแบล็คเมล์โดยก่อนที่จะอธิบายข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องทางบริษัท SLS 2517 จะขออธิบายเสียก่อนว่าการแบล็คเมลคืออะไร

          คำว่า แบล็คเมล นั้นเป็นภาษาต่างประเทศที่คนไทยนิยมนำมาใช้โดยคำว่า แบล็คเมลหรือ “Blackmail” นั้นในทางกฎหมายมีความหมายว่า การขู่เข็ญเอาเงินโดยอ้างว่าจะเปิดเผยความลับ,รีดเอาทรัพย์,ขู่เข็ญเอาเงิน(พจนานุกรมศัพท์และสำนวนกฎหมาย ธง วิทัยวัฒน์ หน้า 430)

                กฎหมายที่ระบุความผิดของการแบล็คเมลนั้นถูกบัญญัติไว้ในมาตรา 338 แห่งประมวลกฎหมายอาญาหรือก็คือความผิดฐานรีดเอาทรัพย์โดยมาตรา 338 นั้นบัญญัติไว้ดั่งนี้  “ผู้ใดข่มขืนใจผู้อื่น ให้ยอมให้ หรือยอมจะให้ตนหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน โดยขู่เข็ญว่าจะเปิดเผยความลับซึ่งการเปิดเผยนั้นจะทำให้ผู้ถูกขู่เข็ญหรือบุคคลที่สามเสียหาย จนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่านั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานรีดเอาทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งสองพันบาทถึงสองหมื่นบาท

                โดยการที่ท่านจะสามารถวินิจฉัยว่าใครกระทำความผิดตามมาตรา 337 ได้นั้นท่านต้องเข้าใจถึงองค์ประกอบของมาตรา 338 เสียก่อนโดยมาตรา 338 นั้นสามารถแยกออกมาได้ดั่งนี้

                1)ต้องมีการข่มขืนใจ คือเป็นการบังคับฝืนใจ

                2)ต้องเป็นการบังคับ ให้ยอม หรือ ยอมจะให้ ซึ่งประโยชน์แก่ตัวผู้กระทำความผิด

                3)โดยการบังคับนั้นต้องเป็นการเปิดเผยความลับ ซึ่งความลับในที่นี้นั้นหมายความถึง สิ่งที่บุคคลผู้มีประโยชน์ได้เสียนั้นประสงค์จะปกปิดไว้หรือให้รู้ได้เฉพาะบุคคลในวงที่จำกัดโดยกฎหมายนั้นไม่สนว่าความลับดั่งกล่าวนั้นจะเป็นเรื่องอะไรจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ได้ ถูกต้องตามศีลธรรมหรือไม่ก็ได้ (ฎีกาที่ 12685/2558 )

                4)การเปิดเผยดั่งกล่าวจะทำให้เจ้าของความลับหรือบุคคลที่สามที่เกี่ยวข้องนั้นเสียหาย โดยข้อนี้ถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่ผู้เสียหายจำเป็นต้องระบุเอาไว้ให้ชัดเจนเพื่อที่จะศาลลงโทษผู้กระทำผิดได้( ฎีกา 2898/2549)

                5)หากจะให้ความผิดสำเร็จตามมาตรา 338 นั้นผู้ถูกรีดเอาทรัพย์ต้องจำใจยอมตามคำขู่นั้น (ฎีกา1869/2536)

                ดังนั้นหากท่านเป็นคนที่มีความลับไม่ว่าความลับนั้นจะเป็นเรื่องที่ส่วนตัวแค่ไหนถูกต้องตามศีลธรรมหรือไม่ท่านไม่ต้องกังวลว่าความลับนั้นเมื่อถูกแบล็คเมลแล้วจะไม่สามารถเอาผิดกับผู้กระทำได้เพราะกฎหมายอาญาได้ระบุโทษสำหรับผู้ที่ต้องการแบล็คเมล์ท่านเอาไว้เรียบร้อยแล้วในขณะเดียวกันแม้ตัวท่านจะยังมิได้ส่งมอบเงินให้แก่ผู้กระทำความผิดท่านก็สามารถเอาผิดกับตัวผู้กระทำความผิดได้ เพราะทันทีที่ผู้กระทำความผิดเริ่มขู่ว่าจะเปิดเผยความลับของท่านแลกกับประโยชน์ใดสักอย่างหนึ่งนั่นก็คือการพยามที่จะรีดทรัพย์ของท่านเรียบร้อยแล้ว

 

                ทั้งนี้หากท่านกำลังประสบปัญหาในเรื่องการถูกแบล็คเมลหรือคดีความอื่นทั้งในทางแพ่งและอาญาเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเปรียบอีกฝ่ายหนึ่ง ท่านสามารถติดต่อบริษัท SLS 2517 เพื่อขอรับคำปรึกษาหรือให้ต่อสู้คดีความได้ที่เบอร์ 063-995-3361

            คำพิพากษาฎีกาตัวอย่าง

Visitors: 58,038