ปล้นทรัพย์

               จากที่ทางบริษัทกฎหมาย  SLS 2517 ได้นำเสนอความรู้ทางกฎหมายอาญาในความผิดฐานชิงทรัพย์ให้แก่ท่านไปในบทความที่แล้ว เพื่อที่จะให้ท่านสามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างความผิดฐานชิงทรัพย์กับความผิดฐานปล้นทรัพย์ได้ ในวันนี้ทาง บริษัทกฎหมาย  SLS 2517 จึงได้นำความรู้ทางกฎหมายในความผิดฐานปล้นทรัพย์มาอธิบายให้แก่ท่านเพื่อที่จะได้สามารถวินิจฉัยได้ว่าใครกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์หรือกระทำความผิดตามความผิดอื่น

               โดยการที่ท่านจะสามารถวินิจฉัยได้ว่าใครกระทำความผิดอาญาฐานปล้นทรัพย์นั้นท่านต้องเข้าใจถึงองค์ประกอบของความผิดฐานปล้นทรัพย์เสียก่อนโดยความผิดฐานปล้นทรัพย์นั้นได้มีการบัญญัติเอาไว้ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 340 ซึ่งบัญญัติไว้ดั่งนี้  ผู้ใดชิงทรัพย์โดยร่วมกันกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สามคนขึ้นไป ผู้นั้นกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสามหมื่นบาทถ้าในการปล้นทรัพย์ ผู้กระทำแม้แต่คนหนึ่งคนใดมีอาวุธติดตัวไปด้วย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบสองปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นสี่พันบาทถึงสี่หมื่นบาทถ้าการปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปีถ้าการปล้นทรัพย์ได้กระทำโดยแสดงความทารุณจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ใช้ปืนยิง ใช้วัตถุระเบิด หรือกระทำทรมาน ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปีถ้าการปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิต

                ซึ่งสามารถอธิบายออกมาให้เข้าใจได้ง่ายดั่งนี้

                ความผิดฐานปล้นทรัพย์นั้นก็คือความผิดฐานชิงทรัพย์นั่นเอง แต่มีข้อแตกต่างกันที่จำนวนผู้กระทำเพราะการปล้นทรัพย์นั้นต้องร่วมกันกระทำตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป โดยความผิดฐานปล้นทรัพย์นั้นสามารถแยกองค์ประกอบออกมาได้ดั่งนี้ ( หยุด แสงอุทัย)

                1)ต้องมีการเอาไปซึ่งทรัพย์สินของผู้อื่น

                2)ต้องมี การใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่ว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย

                3)ต้องมีการร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สามคนขึ้นไป

                4)ต้องมีเจตนาที่จะเอาไปซึ่งทรัพย์ของผู้อื่นโดยทุจริตโดยมีเหตุจูงใจเช่นเดียวกันกับการชิงทรัพย์

จะเห็นได้ว่าองค์ประกอบในข้อ (1) (2) (4) นั้นเป็นองค์กอบที่เหมือนกันกับในมาตรา 339 แต่สิ่งที่ไม่เหมือนกันคือจำนวนตัวผู้กระทำผิดโดย คำว่าร่วมกันกระทำความผิดนั้นก็คือการเป็นตัวการเป็นตัวการร่วมกระทำความผิดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 83 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า ในกรณีความผิดใดเกิดขึ้นโดยการกระทำของบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป ผู้ที่ได้ร่วมกระทำความผิดด้วยกันนั้นเป็นตัวการ ต้องระวางโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นหากท่านระบุความผิดในคำฟ้องว่าเป็นการปล้นทรัพย์แต่ตัวผู้กระทำกลับมีเพียง 2 คนศาลก็จะสามารถลงโทษตัวผู้กระทำได้เพียงความผิดฐานชิงทรัพย์ (ฎีกา 1002/2502)หากในการลงมือปล้นทรัพย์นั้นแม้ คนหนึ่งจะมิได้เข้ามาช่วยชิงทรัพย์แต่ทำหน้าที่ขับรถรอหลบหนีก็ถือว่าเป็นการปล้นทรัพย์ (ฎีกา1600/2511)หรือแม้ร่วมกันปล้น 7 แต่แยกกันเข้าไปชิงทรัพย์บ้านละ 2 คนก็ยังถือเป็นปล้นทรัพย์อยู่(ฎีกา1919/2514)หากผู้กระทำผิดมี3คนแล้วหนึ่งในผู้กระทำความผิดไม่ได้อยู่ใกล้มากพอที่จะช่วยเหลือก็จะไม่มีความผิดในฐานปล้นทรัพย์หากแต่เป็นการชิงทรัพย์ (ฎีกาที่ 74/2555) แต่หากการเอาไปซึ่งทรัพย์นั้นมิได้เอาไปโดยทุจริตคือเจตนาเอาไปโดยมิชอบก็จะไม่เป็นความผิดตามตรานี้(ฎีกา 10139/2557)

                แต่เช่นเดียวกันกับในความผิดฐานชิงทรัพย์มาตรา 340 นั้นได้มีการระบุเหตุเพิ่มโทษเอาไว้ในวรรคที่ 2 เป็นต้นไปโดยสรุปออกมาได้ดั่งนี้

                1)การปล้นทรัพย์นั้นเป็นเหตุทำให้คนตาย

                2)การปล้นทรัพย์เป็นเหตุทำให้ผู้อื่นบาดเจ็บสาหัส

                3)การปล้นทรัพย์นั้นกระทำด้วยความทารุณ

                4)ถ้าในการปล้นทรัพย์นั้นมีผู้กระทำพกอาวุธติดตัวไปด้วย

การปล้นทรัพย์หากคนใดคนหนึ่งพกอาวุธเข้าไปในการปล้นทรัพย์ด้วยโดยไม่จำต้องพิจารณาว่าผู้กระทำความผิดทุกคนรู้หรือไม่ว่าพวกของตนพกอาวุธไปด้วยเนื่องจากเป็นจุดประสงค์ของกฎหมายที่จะลงโทษผู้กระทำทุกคนเพราะการพกอาวุธไปในการปล้นผู้กระทำอาจใช้อาวุธนั้นทำร้ายผู้เสียหายได้(ฎีกา 4398/2555 )

ความตายนั้นต้องเป็นการตายในทางข้อเท็จจริงหากไม่พบศพหรือไม่มีหลักฐานว่าผู้เสียหายตายแล้วก็จะไม่สามารถเพิ่มโทษได้  (ฎีกา10915/2558)

                 ดั่งนั้นในการจะวินิจฉัยว่าใครกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ท่านต้องพิจารณาเสียก่อนว่าการกระทำของเขาเป็นการทำผิดฐานชิงทรัพย์หรือไม่และมีผู้ร่วมกระทำทั้งหมดกี่คนเพื่อที่ท่านจะได้ดำเนินคดีกับผู้กระทำได้อย่างสะดวกมากขึ้นอีกทั้งผู้กระทำก็จะได้รับโทษที่เหมาะสมมากขึ้น ทั้งนี้หากมีใครมีกระทำความผิดไม่ว่าจะทางแพ่งหรือทางอาญาท่านสามารถติดต่อบริษัท SLS 2517 เพื่อขอรับคำปรึกษาหรือดำเนินการต่อสู้คดีได้ที่เบอร์ 02-6300-460หรือ 086-5589695

                 คำพิพากษาฎีกาตัวอย่างประกอบ

Visitors: 58,140