ลักทรัพย์
ความผิดทางอาญาที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์
เชื่อว่าหลายท่านคงเคยได้รับฟังบทเพลงที่มีคำร้องว่า “ของๆใครของใครก็ห่วง” กันมาบ้างวันนี้ทาง บริษัท SLS2517 จึงได้นำความรู้ในเรื่องกฎหมายอาญาที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์ของท่านมาให้ท่านได้ทราบเอาไว้เพื่อที่พวกท่านจะได้ไม่ถูกคนอื่นเอาเปรียบได้ง่ายๆนะครับ
กฎหมายอาญาความผิดเกี่ยวกับทรัพย์นั้นถูกระบุเอาไว้ในลักษณะที่ 12 ตั้งแต่มาตรา 334 ไปจนถึงมาตรา 366 โดยความผิดที่ท่านสามารถพบเจอได้ทั่วไปในชีวิตประจำวันนั้นก็คือความผิดฐาน ลักทรัพย์ มาตรา 334 โดยมาตรา 334 นั้นได้มีการบัญญัติเอาไว้ในประมวลกฎหมายอาญามีเนื้อความดั่งต่อไปนี้ “ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินหกพันบาท”
การที่ท่านจะวินิจฉัยได้ว่าใครนั้นทำความผิดฐานลักทรัพย์หรือไม่นั้นท่านจำเป็นต้องรู้ถึงองค์ประกอบความผิดประจำมาตรา 334 นี้เสียก่อนนะครับ โดยองค์ประกอบของมาตรา 334 นั้นสามารถแบ่งออกได้ดั่งนี้ครับ
องค์ประกอบภายนอก “เอาไปซึ่งทรัพย์ของผู้อื่น”
1) “เอาไป” ในที่นี้นั้นหมายถึง การเอาไปจากการครอบครองของผู้อื่น แม้ทรัพย์นั้นจะเคลื่อนจากที่เดิมเล็กน้อยก็ถือว่าความผิดนั้นได้สำเร็จลงแล้ว (คำพิพากษาฎีกา 413/2552)
2) “ผู้อื่น” คือ บุคคลอื่นที่มิใช่ตัวผู้กระทำ
3) “ ครอบครอง” ในที่นี้นั้นหมายถึงอำนาจปกครองเหนือทรัพย์นั้น กล่าวคือแม้ตัวเจ้าของจะไม่ได้อยู่ด้วยกับตัวทรัพย์แต่หากยังมีอำนาจในการปกครองทรัพย์ดั่งกล่าวอยู่ก็ถือได้ว่ายังครอบครองทรัพย์ดั่งกล่าวอยู่ (ฎีกา 1745/2514)
*ทรัพย์ในที่นี้นั้นหมายถึง วัตถุที่มีรูปร่าง ซึ่งตามคำพิพากษาฎีกานั้นกระแสไฟฟ้านั้นถือเป็นสิ่งที่มีรูปร่างตามวิทยาศาสตร์กายภาพ(ฎีกา 877/2501)
องค์ประกอบภายใน “เจตนาที่จะเอาไปซึ่งทรัพย์ของผู้อื่น”
1) “เจตนา” ในที่นี้หมายถึงเจตนาทั่วไปตามความหมายในมาตรา 59 คือ เจตนาทั้งแบบประสงค์ต่อผล และ เล็งเห็นผล
เจตนาที่จะเอาไปนั้นต้องเป็นเจตนาที่จะเอาไปซึ่งทรัพย์ที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของ (ฎีกา 216/2509)
2) “โดยทุจริต” ซึ่งตามมาตรา 1(1) แห่งประมวลกฎหมายอาญา บัญญัติความหมายไว้ว่า “เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น” (ฎีกา 3894/2531)
ดังนั้นหากมีผู้ใดนำทรัพย์ของท่านไปโดยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายโดยที่ตัวเขาต้องการที่จะนำทรัพย์ดั่งกล่าวนั้นไปเพื่อแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบคนๆนั้นทำความผิดฐานลักทรัพย์ครับซึ่งโทษที่เขาจะได้รับนั้นไม่ได้มีเพียงแค่ที่ระบุไว้ในมาตรา 334 เท่านั้นนะครับเพราะในการพิจารณาโทษของการกระทำความผิดอาญานั้นต้องพิจารณาถึงเหตุเพิ่มโทษด้วยเสมอโดยเหตุเพิ่มโทษของความผิดลักทรัพย์นั้นถูกบัญญัติเอาไว้ในมาตรา 335 และ 335 ทวิ โดยทางบริษัท SLS2517 จะขอนำมาเผยแพร่ให้แก่ท่านต่อไปในบทความชิ้นต่อไปครับ
โดยหากท่านต้องการดำเนินคดีกับคนร้ายที่ทำความผิดกับท่านหรือท่านถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้กระทำความผิดทั้งในทางคดีอาญาและทางแพ่งท่านสามารถติดต่อบริษัท SLS2517 เพื่อขอรับคำปรึกษาหรือดำเนินการต่อสู้คดีได้ที่เบอร์ 069-995-3361
โดนแม่แฟนเเจ้งแต่ลุกชายเขาให้ทำปลอมเอกสารแต่ไม่ได้ลักทรัพย์ของเเม่เขาเขาทำโดยโยนความผิดให้เรา
ขับมาอยู่ในที่สวาง
และเพือ่นผช.ถ้า เขาบอกว่ารุ้ว่าเราเอามาตั้งแต่แรก...แบบ นี้ คือต้องลงโทษ รึเปล่า หรือ ต้องให้เพื่อนผญ.ต้องออกจากงานเลยรึเปล่าค่ะ
เพราะตอนนี้ หัวหน้างานบอกให้พิจรณาตัวเองโดยการเขียนใบลาออก ..ขอคำชี้แนะ ด้วยนะค่ะ
ขอบคุณค่ะ
ผุ้เสียหายแจ้งความว่า เงินในกระเป๋า มี 4 หมื่น กับเอกสารบัตรประจำตัว พาสปอร์ต แต่เราคืน ทุกอย่างแล้วไงทั้งเอกสาร ครบ ถ้วน
แล้วตอนนี้ยุในช่วงฝากขัง ประกันตัวออกมา และมีคดีที่มีการรอลงอาญา 2 ปี
คดีแบบนี้ ส่วนมาก ศาลจะตัดสินยังไงคะ จะต้องติด หรือปรับ จะได้เตรีสมหาเงินถุก