ชิงทรัพย์

                 จากที่ทาง บริษัท SLS 2517 ได้นำเสนอความรู้ทางกฎหมายอาญาที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการวิ่งราวทรัพย์ไปแล้วในบทความก่อนวันนี้ทางบริษัท SLS 2517 ก็จะขอนำเสนอความผิดที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์เช่นเดิมเพียงแต่ในคราวนี้นั้นจะมีดีกรีความเข้มข้นของเรื่องที่เพิ่มมากขึ้นและใกล้ตัวของท่านมากขึ้นขอให้ท่านโปรดติดตาม

                ความรู้ทางกฎหมายอาญาที่บริษัท SLS 2517 จะนำเสนอวันนี้เป็นเรื่องที่ทุกท่านอาจเห็นออกข่าวเป็นประจำนั่นคือความผิดฐาน ชิงทรัพย์นั่นเองโดยความผิดฐานชิงทรัพย์นั้นแม้จะเป็นความผิดที่มีคนทำผิดอยู่บ่อยครั้งแต่ก็มักจะยังมีคนสับสนระหว่างความผิดฐานชิงทรัพย์กับปล้นทรัพย์อยู่บ่อยครั้ง อันเนื่องมาจากคนไทยมักจะใช้คำว่าปล้น ทรัพย์กันติดปากทาง บริษัท SLS 2517  จึงได้นำความรู้ทางกฎหมายอาญาในความผิดฐานชิงทรัพย์มาอธิบายให้ท่านทราบเพื่อที่ท่านจะได้มีความเข้าใจในความแตกต่างระหว่างความผิดอาญาฐานชิงทรัพย์และปล้นทรัพย์

                ความผิดฐานชิงทรัพย์นั้นได้ถูกบัญญัติไว้ในมาตรา  339 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ดั่งนี้  ผู้ใดลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อ (1) ให้ความสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือการพาทรัพย์นั้นไป (2) ให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์นั้น (3) ยึดถือเอาทรัพย์นั้นไว้ (4) ปกปิดการกระทำความผิดนั้น หรือ (5) ให้พ้นจากการจับกุม ผู้นั้นกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงสองหมื่นบาท ถ้าความผิดนั้นเป็นการกระทำที่ประกอบด้วยลักษณะดังที่บัญญัติไว้ในอนุมาตราหนึ่งอนุมาตราใดแห่ง มาตรา 335 หรือเป็นการกระทำต่อทรัพย์ที่เป็นโค กระบือ เครื่องกลหรือเครื่องจักรที่ผู้มีอาชีพกสิกรรมมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรม ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสามหมื่นบาท ถ้าการ ชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสี่หมื่นบาท ถ้าการชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึง ยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สามหมื่นบาทถึงสี่หมื่นบาท ถ้าการชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต  

                 การที่ท่านจะวินิจฉัยได้ว่าใครทำความผิดฐานชิงทรัพย์นั้นท่านจำเป็นต้องเข้าใจถึงองค์ประกอบของมาตรานี้ เสียก่อนโดยมาตรา 339 นั้นสามารถอธิบายองค์ประกอบได้ดั่งนี้

                1)ตัวบทใช้คำว่า  “ลักทรัพย์” องค์ประกอบในส่วนนี้จึงเหมือนกันกับกับความผิดในมาตรา 334  กล่าวคือ มีการเอาไปซึ่งทรัพย์สินของผู้อื่นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

                2)โดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย การใช้กำลังประทุษร้าย นั้นได้มีการให้ความหมายไว้ประมวลกฎหมายอาญามาตรา  1 (6) ดั่งนี้  ใช้กำลังประทุษร้าย” หมายความว่า ทำการประทุษร้ายแก่กายหรือจิตใจของบุคคล ไม่ว่าจะทำด้วยใช้แรงกายภาพหรือด้วยวิธีอื่นใด และให้หมายความรวมถึงการกระทำใด ๆ ซึ่งเป็นเหตุให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ ไม่ว่าจะโดยใช้ยาทำให้มึนเมา สะกดจิต หรือใช้วิธีอื่นใดอันคล้ายคลึงกัน”            ตรงนี้ท่านต้องพึงระวังเพราะตามหลักการวินิจฉัยที่ศาลใช้ออกมาเป็นคำพิพากษาฎีกานั้น หากยังไม่มีการเริ่มข่มขู่หรือเข้ามาทำร้ายแล้วแต่มาดึงทรัพย์นั้นไปเสียก่อนนั่นคือความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์เท่านั้น (ฎีกา 11865/2554) การถืออาวุธแต่ไม่มีพฤติการณ์ว่าจะทำร้ายก็ไม่มีความผิดตามมาตรานี้ ( ฎีกา730/2509 ) อีกทั้งการข่มขู่นั้นต้องเป็นไปเพื่อจะเอาทรัพย์สินในทันทีหากเป็นการข่มขู่เพื่อให้นำทรัพย์มาให้ภายหลังอาจเป็นความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ได้ (ฎีกา11052/2553)

3)โดยมีเจตนาที่จะเอาทรัพย์นั้นไปเป็นของตนและจะข่มขู่ว่าจะทำร้ายในในทันทีหากไม่ส่งมอบ แต่ถ้าผู้กระทำมิได้ต้องการนำทรัพย์นั้นไปเป็นของตนผู้กระทำไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์ ( ฎีกา10015/2553 )

                4)โดยมีมูลเหตุชักจูงใจอย่างใดอย่างหนึ่งใน 5 ประการนี้

                 ก)ให้ยอมให้ความสะดวกในการลักทรัพย์หรือพาทรัพย์ไป 

          ข)ให้ยื่นทรัพย์สินให้

                ค)เพื่อยึดถือเอาทรัพย์นั้นไว้

                ง)เพื่อปกปิดการกระทำนั้นไว้

                จ)เพื่อให้พ้นการจับกุม

ในองค์ประกอบข้อ 4 ซึ่งเป็นมูลเหตุจูงใจจะต้องพิจารณาเป็นรายกรณีๆไปเพราะแต่ละเหตุจูงใจอาจเกิดขึ้นในเวลาที่ต่างกันได้ เช่น (ก) (ข) (ค) นั้นเป็นเหตุจูงใจที่เกิดขึ้นในขณะกระทำความผิด ส่วน (ง) (จ) นั้นอาจเกิดได้ภายหลังการกระทำความผิดสำเร็จแล้วหรือในขณะกระทำความผิดก็ได้ (หยุด แสงอุทัย)

                อีกทั้งภายในมาตรา 339 นั้นยังมีการบัญญัติเหตุเพิ่มโทษไว้ในส่วนท้ายของมาตราอีกด้วยกล่าวคือหากในการกระทำความผิดนั้นมีข้อเท็จจริงที่ตรงกับองค์ประกอบที่ระบุไว้ในเหตุเพิ่มโทษผู้กระทำก็จะได้รับโทษที่เพิ่มขึ้นไปจากที่ระบุไว้ในส่วนแรกดังนั้นการพิจารณาโทษของผู้กระทำความผิดตามมาตรา 339 นั้นจึงต้องพิจารณาทั้งในส่วนท้ายของมาตรา 339 และ มาตรา 339 ทวิ โดยสามารถสรุปเหตุที่จะให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษเพิ่มจากปกติได้ดั่งนี้

                1)การชิงทรัพย์นั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตราย (ฎีกา1867/2553)

                2)การชิงทรัพย์นั้นทำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส

                2)การชิงทรัพย์นั้นทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย แต่การถึงแก่ความตายในที่นี้ต้องเกิดจากเจตนาที่จะทำร้ายเพื่อแย่งชิงทรัพย์เท่านั้นหากเป็นการกระทำที่เจตนาให้ฆ่าอยู่แล้วจะเป็นความผิดฐานฆ่าคนตายโยเจตนาซึ่งอยู่ในมาตรา 288 หรือ 289(6)

                 ดั่งนั้นหากมีใครมาข่มขู่ว่าจะทำร้ายท่านหรือทำร้ายท่านเพื่อเอาทรัพย์สินของท่านไปเขาคนนั้นทำความผิดฐานชิงทรัพย์ท่านสามารถเอาผิดกับเข้าได้ทันทีทั้งทางแพ่งและอาญาโดยหากท่านต้องการดำเนินคดีกับคนร้ายหรือหากตัวท่านถูกกล่าวหาทั้งในทางคดีอาญาหรือคดีแพ่งท่านสามารถติดต่อบริษัท SLS 2517 เพื่อขอรับคำปรึกษาหรือดำเนินการต่อสู้คดีได้ที่เบอร์ 063-995-3361 

                  คำพิพากษาฎีกาตัวอย่าง

Visitors: 58,025