วิ่งราวทรัพย์

ความผิดทางอาญาที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์(การวิ่งราวทรัพย์)

จากที่ทางบริษัท SLS 2517 ได้นำเสนอความรู้ทางกฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์ในความผิดฐานลักทรัพย์ไปแล้วในบทความที่แล้ว ในบทความนี้บริษัท SLS 2517 จะขอนำความรู้ในเรื่องของความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์มานำเสนอให้ทุกท่านได้รับทราบไว้เพื่อไม่ให้คนอื่นมาเอาเปรียบตัวของท่านได้

                ความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์นั้นบัญญัติอยู่ในมาตรา 336แห่งประมวลกฎหมายอาญาโดยเป็นความผิดที่อยู่ในหมวดเดียวกันกับความผิดฐานลักทรัพย์องค์ประกอบในความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์จึงค่อนข้างเหมือนกับความผิดฐานลักทรัพย์ที่เคยได้อธิบายเอาไว้ในบทความที่แล้ว

โดยมาตรา 336 แห่งประมวลกฎหมายอาญาซึ่งบัญญัติไว้ดั่งนี้    มาตรา 336 ผู้ใดลักทรัพย์โดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้า ผู้นั้นกระทำความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท ถ้าการวิ่งราวทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่สี่พันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท ถ้าการวิ่งราวทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หกพันบาทถึงสองหมื่นบาท ถ้าการวิ่งราวทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงสามหมื่นบาท

                เมื่อพิจารณาจากตัวบทนั้นจะสามารถเห็นได้ว่า ตัวบทใช้คำว่า  “ลักทรัพย์” โดยเราจะสามารถอธิบายหลักเกณฑ์หรือองค์ประกอบที่เพิ่มเติมมาจากการะกระทำผิดฐานลักทรัพย์ได้ดั่งนี้

1)การนำทรัพย์ไปต้องเป็นการลักไปซึ่งหน้าโดยวิธีที่ใช้เอาไปต้องเป็นเพียงการเอาไปแบบธรรมดาไม่ใช่หยิบหรือคว้าไปด้วยความเร็วเป็นพิเศษ (ฎีกา919/2503)

2)ซึ่งหน้าในที่นี้หมายถึงเจ้าของทรัพย์นั้นรู้สึกและเห็นเหตุการณ์ขณะเกิดเหตุก็ถือว่าซึ่งหน้าแล้วแม้จะทำการหยิบทรัพย์จากข้างหลังตัวเจ้าของทรัพย์ก็ตาม (ฎีกา1315/2513)

                3)มาตรา 336 นั้นเมื่อพิจารณาวรรคท้ายแล้วก็จะพบว่าเป็นมาตราที่มีเหตุเพิ่มโทษระบุอยู่ในตัวเองด้วยดั่งจะเห็นได้จาก “ถ้าการวิ่งราวทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หกพันบาทถึงสองหมื่นบา ถ้าการวิ่งราวทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงสามหมื่นบาท” ดังนั้นในการวินิจฉัยโทษทางอาญาในความผิดฐานมาตรา 336 นั้นต้องพิจารณาวรรคท้ายด้วยเสมอว่าข้อเท็จจริงในคดีนั้นตรงกับช่วงท้ายของตัวบทหรือไม่เพราะจะมีผลต่อโทษที่ผู้กระทำความผิดได้รับ

4)กรณีที่ วิ่งราวทรัพย์ แล้วทำให้ผู้อื่นถึงแก่ตาย ผู้อื่น ในที่นี้จะไม่รวมถึงบุคคลผู้ร่วมกระทำความผิดด้วย(ฎีกา1917/2511)

                 ดังนั้นหากมีคนหยิบฉวยทรัพย์สินของท่านในขณะที่ท่านเห็นเหตุการณ์หรือกล่าวภาษาชาวบ้านได้ว่าต่อหน้าต่อตาของท่านคนๆนั้นมีความฐานวิ่งราวทรัพย์โดยท่านสามารถเอาผิดกับบุคคลนั้นได้ทันทีทั้งทางอาญาและทางแพ่งหากท่านต้องการดำเนินคดีกับคนร้ายหรือหากตัวท่านถูกกล่าวหาทั้งในทางคดีอาญาและทางแพ่งท่านสามารถติดต่อบริษัท SLS 2517  เพื่อขอรับคำปรึกษาหรือดำเนินการต่อสู้คดีได้ที่เบอร์ 063-995-3361   

ฎีกาตัวอย่างประกอบ 

Visitors: 57,998